VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

VGA Card มี 2 แบบ

VGA (Video Graphic Adaptor) มี 2 แบบคือ
1. อยู่บน Mainboard เรียกกันหลายแบบ เช่น On board(ออนบอร์ด), Integreted(อินทิเกรเต็ด), Build In (บิ้ลอิน), Share (แชร์)

2. แยกเป็นการ์ดต่างหาก ซึ่งข้อดีก็คือ จะไม่ไปแชร์ RAM เครื่อง ทำให้การแสดงผลทำได้ดีขึ้น

VGA on board มีลักษณะ คือ พอร์ต VGA ติดอยู่บนเมนบอร์ด และไม่มี VGA card เสียบต่างหาก
รุ่นนี้มี Port VGA (สีน้ำเงิน 5*3=15รู)



รุ่นนี้ไม่มี Port VGA

VGA Card


การ์ดวีจีเอ หรือ VGA Adapter Card เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์อื่นๆในปจจุบัน ซึ่งทางผู้ผลิตต่างก็งัดกลยุทธ์ของตังเองออกมาประชันกันอย่างเต็มที่ ซึ่งไม่เหมือนเมื่อก่อน การ์ดวีจีเอ มักจะถูกมองข้าม เนื่องจากการทำงานของส่วนนี้ ไม่ค่อยมีความจำเป็นเพราะคนที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในการนำมาใช้กับการทำงาน ก็มีความต้องการเพียงแค่สามารถอ่านออกเขียนได้ก็เป็นพอ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาด้านการ์ดวีจีเอไปพร้อมๆกับเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของคนยุคไอทีได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความสามารถไนการแสดงผลทางด้านภาพสามมิติที่รองรับความต้องการของคอเกมส็ทั้งหลายให้ภาพทีคมชัด และด้านกราฟฟิคอื่นๆ จากความต้องการใช้งานที่มากขึ้นของยูสเซอร์ ทำให้มีการพัฒนาไม่หยุดยั้ง ดังนั้นท่านสามารถค้นคว้าความรู้เรื่องของการ์ด VGA ได้จากคอลัมน์นี้ ซึ่งทางทีมงานจะนำเสนอข้อมูลให้ท่านได้ติดตามอยู่เสมอ

[ VGA Card หรือ Display Adapter ]
มีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณ digital ให้เป็นสัญญาณภาพ โดยมี Chip เป็นตัวหลักในการประมวลการแปลงสัญญาณ ส่วนภาพนั้น CPU เป็นผู้ประมวลผล แต่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการประมวลผลภาพนั้น VGA card เป็นผู้ประมวลผลเองโดย Chip นั้นได้เปลี่ยนเป็น GPU (Grarphic Processing Unit) ซึ่งจะมีการประมวลภาพในตัว Card เองเลย เทคโนโลยีนี้เป็นที่แพร่หลายมากเนื่องจากราคาเริ่มปรับตัวต่ำลงมาจากเมื่อก่อนที่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเข้ามาใหม่ๆ โดย GPU ค่าย Nvidia เป็นผู้ริเริ่มการลุยตลาด
Slot เสียบการ์ดแบบต่างๆ

Card VGA-PCI

หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร
หน่วยความจำ
การ์ดแสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น
เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ
ความละเอียดในการแสดงผล
การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640×480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด
โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640×480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800×600, 1024×768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280×1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True color
อัตราการรีเฟรชหน้าจอ
การ์ดแสดงผลที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอได้หลายๆ อัตรา อัตราการรีเฟรชก็คือ จำนวนครั้งในการกวาดหน้าจอ ใหม่ในหนึ่งวินาที ถ้าหากว่าอัตรารีเฟรชต่ำ จะทำให้ภาพบนหน้าจอ มีการกระพริบ ทำให้ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ เกิดอาการล้า ของกล้ามเนื้อตา และอาจทำให้เกิดอันตราย กับดวงตาได้ อัตราการรีเฟรชในปัจจุบันอยู่ที่ 72 เฮิรตซ์ ถ้าใช้จอภาพขนาดใหญ่ อัตรารีเฟรชยิ่งต้องเพิ่มมากขึ้น อัตรารีเฟรชยิ่งมากก็ยิ่งดี

VGA Card


VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง
ส่วนประกอบในการทำงานของ VGA Card นั้น ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อยู่ 3 ส่วน ที่ควรจะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ คือ ระบบ Bus ที่ใช้ในการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU : ปัจจุบันนี้ VGA Card ที่เราๆ ใช้กันอยู่ จะมีการติดต่อ ส่งข้อมูลกับหน่วยประมวลผลกลาง ผ่านทางระบบ Bus บน Mainboard อยู่ 2 แบบ คือ ผ่านทาง PCI ( Peripheral Component Interconnect ) กับ AGP ( Accelerated Graphic Port ) ระบบ PCI หรือ Peripheral Component Interconnect ก็เป็น Local Bus อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกัน และส่งข้อมูลผ่านกันทางวงจรเชื่อม ( Bridge Circuit ) ซึ่ง จะมี Chipset ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ Chipset ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor ( หรือ CPU ) แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI จะเป็นระบบบัสแบบ 32 Bit ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ซึ่งสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูลถึง 133 M/s ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 64 Bit ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตรฐาน ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1993 ซึ่ง PCI 2.0 นี้ก็จะมีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 Bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 Bit แล้ว ก็จะสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านที่สูงสุดถึง 266 M/s จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัด นอกเหนือไปจากข้างต้น ก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI นั้น ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน ก็ยังสนับสนุนระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต Mainboard ที่มีทั้ง Slot ISA , EISA และ PCI รวมกันได้ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย ( เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี 1992 ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้ จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port จะถูกกำหนดไว้แล้ว แต่เราก็สามารถเลือก หรือ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software ) ในกลางปี 1996 เมื่อ Intel ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ Accelerated Graphics Port หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ 440LX ( ซึ่งแน่นอน Chipset ที่ออกมาหลังจากนี้ ก็จะสนับสนุนการทำงานของ AGP ด้วย ) AGP นั้น จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่ง จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการ Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน Card นั้นมากๆ เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ( Texture ) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน Render แน่นอน เมื่อหน่วย ความจำมากๆ ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้น ทาง Intel จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา AGP นั้นจะมี mode ในการ Render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy หน่วยความจำ ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ( ซึ่งกำลังจะกล่าวถึงในหัวข้อย่อยถัดไป ) จากนั้นจึงทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน Card นั้นอีกที ซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI ด้วย วิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน Card มาก AGP Texturing นั้น เป็นเทคนิคใหม่ ที่ช่วยลดปริมาณของหน่วยความจำ หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลงได้มาก เพราะสามารถทำการใช้งาน หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย โดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ก่อน โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็จะยังคงทำงานที่ 66 MHz ( ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถปรับแต่งค่านี้ได้ แต่ ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และ อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ) ซึ่ง ใน mode ปกติของมัน ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือน กับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง 266 Mbps และ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 Mhz จึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง 533 Mbps ( แน่นอนว่าทั้ง Card ที่ใช้ และ Chipset ที่ใช้ ต้องสนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย ) ซึ่งเรียก mode นี้ ว่า mode 2X และ mode ปกติว่าเป็น mode 1X

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

VGA Card


การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกัน เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้


เมนบอร์ด Socket 754 DFI VGA on board
slot สีน้ำตาล ด้านซ้ายที่อยู่ข้างๆ slot สีขาว 3 อัน ตรงนั้นเอาไว้เสียบ VGA Card (การ์ดจอ)

การ์ดจอ คือ อุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าจากคอมฯไปแสดงยังจอภาพ โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิป เสียบอยู่กับ Motherboard และมีจุดสำหรับใช้เสียบสายต่อไปยังจอภาพ (PORT) ที่อยู่ด้านหลังของเคส



- ลูกศรสีชมพูเสียบกับจอคอมพิวเตอร์

- ลูกศรสีน้ำเงินเอาไว้ใส่การ์ดจอ

ความสำคัญ
-ช่วยทำให้ เกมส์มีภาพสวยขึ้น เหมือนจริงยิ่งขึ้น เล่นภาพ 3มิติได้ดีขึ้น ขึ้นอย่กับ 1 memory ของการ์ดจอ 2 เทคโนโลยี ของ chipset
-เมื่อต้องการภาพออกหน้าจอ tv ที่มีคุณภาพ สวย คมชัด ควบคุมได้หลายอย่าง
เอาเชิง Tech มันเป็น Card ที่ใช้ประมวณผลภาพ เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ ที่มีทั้ง CPU ทั้ง RAM
ส่วนใหญ่จะมี CPU ที่ประมวลผลเชิงเดี่ยวได้ไว แต่ประมวลผลแบบเชิงคู่ได้ไม่ดีพอ
มีไว้แบ่งเบาภาระของ CPU จากการประมวลผลภาพจำพวก 3D
CPU จะส่งค่าต่างๆ ที่ใช้สร้างภาพขึ้นมาอย่างเช่น Texture (พื้นผิว) Polygon (จุดเชิง 3D) ตำแหน่งและทิศทางของแสง ตำแหน่งและทิศทางของกล้องแล้วจากนั้น การ์ดนี้จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลพวกนี้ออกมาเป็นภาพ ถ้าการ์ดรุ่นนี้สูงขึ้นก็จะมี Shadar Model ที่ใช้สร้าง Effect ต่างๆ ได้ โดยส่งไปเพียง Shadar Algorithm เท่านั้น

การ์ดจอ on board คือ การบรรจุฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์รวมกันมาใน Mainboard เพื่อให้ทำงานร่วมกันกับ Mainboard ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดหาฮาร์ดแวร์มาเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์อีก ในที่นี้ทำเพื่อ
1. ให้ผู้ใช้ลดต้นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หลายอย่างในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน
2. เพื่อความสะดวกในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว และไม่ยุ่งยาก เพียงมี Driver
3. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจสถาปัตยกรรมการรับส่งข้อมูลลึกๆ ของฮาร์ดแวร์ที่บรรจุมาด้วยนี้ เพียงแต่ใช้งานเพียงอย่างเดียว (ไม่ต้องกลัวฮาร์ดแวร์ไม่รองรับกับ Mainboard เลย)
แต่ทั้งนี้ก็มีข้อเสียเช่นกันคือ
1. ฮาร์ดแวร์ที่บรรจุมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ เพราะมันติดมากับแผงวงจร
2. ฮาร์ดแวร์อาจมีประสิทธิภาพไม่พอเพียงกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น การแสดงผลทางจอภาพอาจแสดงผลไม่สูงนัก ไม่สามารถแสดงผลในระบบ 3D ได้อย่างราบรื่น
3. หากฮาร์ดแวร์ประเภท on board เสีย ระบบการทำงานของ Mainboard ก็จะเสียด้วยในบางส่วน หรืออาจใช้งานไม่ได้ (แต่เท่าที่เคยประสบมา VGA on board เสียยากกว่า Sound on board และถ้า Sound on board เสีย ก็ยังใช้งานได้ต่ออีก ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นด้วย)