VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

VGA Card


VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง
ส่วนประกอบในการทำงานของ VGA Card นั้น ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อยู่ 3 ส่วน ที่ควรจะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ คือ ระบบ Bus ที่ใช้ในการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU : ปัจจุบันนี้ VGA Card ที่เราๆ ใช้กันอยู่ จะมีการติดต่อ ส่งข้อมูลกับหน่วยประมวลผลกลาง ผ่านทางระบบ Bus บน Mainboard อยู่ 2 แบบ คือ ผ่านทาง PCI ( Peripheral Component Interconnect ) กับ AGP ( Accelerated Graphic Port ) ระบบ PCI หรือ Peripheral Component Interconnect ก็เป็น Local Bus อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกัน และส่งข้อมูลผ่านกันทางวงจรเชื่อม ( Bridge Circuit ) ซึ่ง จะมี Chipset ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ Chipset ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor ( หรือ CPU ) แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI จะเป็นระบบบัสแบบ 32 Bit ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ซึ่งสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูลถึง 133 M/s ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 64 Bit ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตรฐาน ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1993 ซึ่ง PCI 2.0 นี้ก็จะมีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 Bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 Bit แล้ว ก็จะสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านที่สูงสุดถึง 266 M/s จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัด นอกเหนือไปจากข้างต้น ก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI นั้น ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน ก็ยังสนับสนุนระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต Mainboard ที่มีทั้ง Slot ISA , EISA และ PCI รวมกันได้ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย ( เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี 1992 ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้ จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port จะถูกกำหนดไว้แล้ว แต่เราก็สามารถเลือก หรือ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software ) ในกลางปี 1996 เมื่อ Intel ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ Accelerated Graphics Port หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ 440LX ( ซึ่งแน่นอน Chipset ที่ออกมาหลังจากนี้ ก็จะสนับสนุนการทำงานของ AGP ด้วย ) AGP นั้น จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่ง จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการ Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน Card นั้นมากๆ เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ( Texture ) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน Render แน่นอน เมื่อหน่วย ความจำมากๆ ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้น ทาง Intel จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา AGP นั้นจะมี mode ในการ Render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy หน่วยความจำ ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ( ซึ่งกำลังจะกล่าวถึงในหัวข้อย่อยถัดไป ) จากนั้นจึงทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน Card นั้นอีกที ซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI ด้วย วิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน Card มาก AGP Texturing นั้น เป็นเทคนิคใหม่ ที่ช่วยลดปริมาณของหน่วยความจำ หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลงได้มาก เพราะสามารถทำการใช้งาน หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย โดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ก่อน โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็จะยังคงทำงานที่ 66 MHz ( ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถปรับแต่งค่านี้ได้ แต่ ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และ อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ) ซึ่ง ใน mode ปกติของมัน ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือน กับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง 266 Mbps และ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 Mhz จึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง 533 Mbps ( แน่นอนว่าทั้ง Card ที่ใช้ และ Chipset ที่ใช้ ต้องสนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย ) ซึ่งเรียก mode นี้ ว่า mode 2X และ mode ปกติว่าเป็น mode 1X

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น