VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

VGA card ATI/512/HD-4650 SUPER PALIT

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

VGA Card


การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกัน เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้


เมนบอร์ด Socket 754 DFI VGA on board
slot สีน้ำตาล ด้านซ้ายที่อยู่ข้างๆ slot สีขาว 3 อัน ตรงนั้นเอาไว้เสียบ VGA Card (การ์ดจอ)

การ์ดจอ คือ อุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าจากคอมฯไปแสดงยังจอภาพ โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่นไมโครชิป เสียบอยู่กับ Motherboard และมีจุดสำหรับใช้เสียบสายต่อไปยังจอภาพ (PORT) ที่อยู่ด้านหลังของเคส



- ลูกศรสีชมพูเสียบกับจอคอมพิวเตอร์

- ลูกศรสีน้ำเงินเอาไว้ใส่การ์ดจอ

ความสำคัญ
-ช่วยทำให้ เกมส์มีภาพสวยขึ้น เหมือนจริงยิ่งขึ้น เล่นภาพ 3มิติได้ดีขึ้น ขึ้นอย่กับ 1 memory ของการ์ดจอ 2 เทคโนโลยี ของ chipset
-เมื่อต้องการภาพออกหน้าจอ tv ที่มีคุณภาพ สวย คมชัด ควบคุมได้หลายอย่าง
เอาเชิง Tech มันเป็น Card ที่ใช้ประมวณผลภาพ เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆ ที่มีทั้ง CPU ทั้ง RAM
ส่วนใหญ่จะมี CPU ที่ประมวลผลเชิงเดี่ยวได้ไว แต่ประมวลผลแบบเชิงคู่ได้ไม่ดีพอ
มีไว้แบ่งเบาภาระของ CPU จากการประมวลผลภาพจำพวก 3D
CPU จะส่งค่าต่างๆ ที่ใช้สร้างภาพขึ้นมาอย่างเช่น Texture (พื้นผิว) Polygon (จุดเชิง 3D) ตำแหน่งและทิศทางของแสง ตำแหน่งและทิศทางของกล้องแล้วจากนั้น การ์ดนี้จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลพวกนี้ออกมาเป็นภาพ ถ้าการ์ดรุ่นนี้สูงขึ้นก็จะมี Shadar Model ที่ใช้สร้าง Effect ต่างๆ ได้ โดยส่งไปเพียง Shadar Algorithm เท่านั้น

การ์ดจอ on board คือ การบรรจุฮาร์ดแวร์ทางคอมพิวเตอร์รวมกันมาใน Mainboard เพื่อให้ทำงานร่วมกันกับ Mainboard ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดหาฮาร์ดแวร์มาเพิ่มเติมในเครื่องคอมพิวเตอร์อีก ในที่นี้ทำเพื่อ
1. ให้ผู้ใช้ลดต้นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หลายอย่างในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกัน
2. เพื่อความสะดวกในการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว และไม่ยุ่งยาก เพียงมี Driver
3. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจสถาปัตยกรรมการรับส่งข้อมูลลึกๆ ของฮาร์ดแวร์ที่บรรจุมาด้วยนี้ เพียงแต่ใช้งานเพียงอย่างเดียว (ไม่ต้องกลัวฮาร์ดแวร์ไม่รองรับกับ Mainboard เลย)
แต่ทั้งนี้ก็มีข้อเสียเช่นกันคือ
1. ฮาร์ดแวร์ที่บรรจุมานั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ เพราะมันติดมากับแผงวงจร
2. ฮาร์ดแวร์อาจมีประสิทธิภาพไม่พอเพียงกับความต้องการของผู้ใช้ เช่น การแสดงผลทางจอภาพอาจแสดงผลไม่สูงนัก ไม่สามารถแสดงผลในระบบ 3D ได้อย่างราบรื่น
3. หากฮาร์ดแวร์ประเภท on board เสีย ระบบการทำงานของ Mainboard ก็จะเสียด้วยในบางส่วน หรืออาจใช้งานไม่ได้ (แต่เท่าที่เคยประสบมา VGA on board เสียยากกว่า Sound on board และถ้า Sound on board เสีย ก็ยังใช้งานได้ต่ออีก ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นด้วย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น